อาหารภาคเหนือ





คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่ขนมจีนน้ำเงี้ยว

ขนมจีน หรือเข้าหนมเส้น หรือเข้าเส้น ชาวล้านนานิยมมารับประทานเป็น ขนมจีนน้ำเงี้ยว หรือเข้าหนมเส้นน้ำเงี้ยว ( รัตนา พรหมพิชัย , 2542 , 825-826 ) น้ำเงี้ยวเป็นน้ำแกงที่รับประทานกับขนมจีนหรือเส้นก๋วยเตี๋ยว ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยว เรียกก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยว บางสูตรใช้ถั่วเน่าแข็บหรือถั่วเน่าแผ่นย่างไฟ โขลกลงในเครื่องแกง แทนการใส่เต้าเจี้ยว ชาวไทใหญ่ หรือเงี้ยว เรียกว่า เข้าเส้นน้ำหมากเขือส้ม ( รัตนา พรหมพิชัย , 2542 , 3221 )

ส่วนผสม

1.ขนมจีน1กิโลกรัม
2.เนื้อหมูบดหยาบ1/2กิโลกรัม
3.ซี่โครงหมู1/2กิโลกรัม
4.เลือดไก่ต้ม3ก้อน
5.มะเขือเทศลูกเล็ก1/2กิโลกรัม
6.งิ้วแห้ง10ดอก
7.เต้าเจี้ยว3ช้อนโต๊ะ
8.น้ำมันพืช1/2ถ้วยตวง

เครื่องแกง

1.พริกแห้ง10เม็ด
2.รากผักชี10ต้น
3.กระเทียม10กลีบ
4.หอมแดง10หัว
5.กะปิ3ช้อนโต๊ะ
6.เกลือ3ช้อนชา














แกงอ่อม เป็นแกงประเภทที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมหลัก เช่น ปลา เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่ นอกจากเนื้อแล้ว นิยมใส่เครื่องในสัตว์เป็นส่วนผสมด้วย เรียกชื่อตามส่วนผสมหลัก ได้แก่ แกงอ่อมไก่ แกงอ่อมปลา แกงอ่อมเนื้อ (แกงอ่อมจิ๊นงัว แกงอ่อมจิ๊นควาย) แกงอ่อมหมู (แกงอ่อมจิ๊นหมู) บางก็แกงอ่อมเฉพาะเครื่องใน เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในควาย (แกงอ่อมครัวในงัว แกงอ่อมครัวในควาย) (เทียนชัย สุทธนิล, สัมภาษณ์, 19 มิถุนายน 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 489)

ส่วนผสม

1.เนื้อไก่บ้าน400กรัม
2.ข่าอ่อนซอย7แว่น
3.ตะไคร้ซอย1ต้น
4.มะกรูดใบ5ใบ
5.ผักชีราก3ราก
6.เล็บครุฑใบอ่อน1ถ้วย
7.ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ2ช้อนโต๊ะ
8.ผักชี1/2ช้อนโต๊ะ
9.ต้นหอม1/2ช้อนโต๊ะ
10.น้ำมันพืช1/2ถ้วย

เครื่องแกง

1.พริกแห้ง7เม็ด
2.พริกขี้หนูแห้ง4เม็ด
3.หอมแดง3หัว
4.กระเทียม20กลีบ
5.ตะไคร้ซอย1ช้อนโต๊ะ
6.ข่าซอย1ช้อนโต๊ะ
7.เกลือ1ช้อนชา
8.กะปิ1/2ช้อนโต๊ะ










คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่น้ำพริกอ่อง




น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 3258; อัมพร โมฬีพันธ์, สัมภาษณ์, 6 กรกฎาคม 2550) บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส (อัมพร โมฬีพันธ์, สัมภาษณ์, 6 กรกฎาคม 2550)

ส่วนผสม

1.เนื้อหมูบด400กรัม
2.มะเขือเทศลูกเล็ก20ลูก
3.ผักชีซอย1ช้อนโต๊ะ
4.ต้นหอมซอย1ช้อนโต๊ะ
5.น้ำมันพืช2ช้อนโต๊ะ

เครื่องแกง

1.พริกขี้หนูแห้ง20เม็ด
2.หอมแดง5หัว
3.กระเทียม10กลีบ
4.กะปิ1ช้อนโต๊ะ
5.เกลือ1/2ช้อนชา








คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่น้ำพริกหนุ่ม



พริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ(เสาวภา ศักยพันธ์ และยุพยง วิจิตรศิลป์, 2538, หน้า 84; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 3257, ศรีวรรณ จำรัส, สัมภาษณ์, 14 มิถุนายน 2550)

ส่วนผสม

1.พริกหนุ่มย่างไฟ5เม็ด
2.หอมแดงย่างไฟ5หัว
3.กระเทียมย่างไฟ8กลีบ
4.เกลือ1/2ช้อนชา
5.ผักชีซอย1/2ช้อนโต๊ะ
6.ต้นหอมซอย1/2ช้อนโต๊ะ












































































คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่หลู้



หลู้ เป็นอาหารประเภทดิบสดประเภทเดียวกับลาน และส้าจิ๊น ซึ่งใช้เครื่องปรุงเดียวกัน การทำหลู้นิยมใช้เลือดสดๆ ของหมู วัว หรือควาย ชาวล้านนานิยมใช้เลือดหมูในการทำมากกว่าเลือดวัวและควาย บางสูตรใช้น้ำเพลี้ย (กากอาหารที่ค้างในลำไส้ของวัวควาย) โดยนำเพี้ยสดๆ หรือต้มก่อนก็ได้ แทนน้ำเลือด เรียกว่า หลู้เพี้ย (ประธาน นันไชยศิลป์, สัมภาษณ์, 3 กรกฎาคม 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 7482)

ส่วนผสม

1.เนื้อหมูสับ50กรัม
2.เครื่องในหมูทอดกรอบ200กรัม
3.ไตหมู1/2ถ้วย
4.มันหมู1/2ถ้วย
5.เลือดหมู2ถ้วย
6.น้ำต้มกะปิ2ช้อนโต๊ะ
7.น้ำกระเทียมดอง1/2ถ้วย
8.ใบมะนาวทอดกรอบ10ใบ
9.ใบมะกรูดทอดกรอบ10ใบ
10.ตะไคร้ทอดกรอบ2ช้อนโต๊ะ
11.หอมแดงเจียว2ช้อนโต๊ะ
12.กระเทียมเจียว2ช้อนโต๊ะ
13.พริกลาบ3ช้อนโต๊ะ
14.ใบตะไคร้10ต้น
15.ผักไผ่ซอย2ช้อนโต๊ะ
16.ต้นหอมซอย2ช้อนโต๊ะ
17.ผักชีซอย2ช้อนโต๊ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น